Search Result of "วิจารณ์ มีผล"

About 5 results
Img

ที่มา:วารสารการจัดการป่าไม้

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : การเติบโตและผลผลิตซากพืชของไม้โกงกางใบใหญ่อายุ 7-10 ปี ที่ปลูกในพื้นที่นากุ้งร้าง อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี)

ผู้เขียน:Imgวิจารณ์ มีผล

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

ได้ทำการศึกษาการเติบโตและผลผลิตซากพืชของไม้โกงกางใบใหญ่ที่ปลูกในพื้นที่นากุ้งร้าง อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแปลงปลูกไม้โกงกางใบใหญ่ อายุ 7-10 ปี ในพื้นที่ผ่านการทำนากุ้งแบบธรรมชาติ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2550 - ตุลาคม 2551 โดยวางแปลงทดลองขนาด 10 x 10 ตารางเมตร จำนวน 9 แปลง ในแต่ละชั้นอายุ วัดการเติบโตทางความสูงและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ปริมาณมวลชีวภาพ ผลผลิตซากพืช ปริมาณธาตุอาหารที่ได้จากผลผลิตซากพืช และการเก็บกักคาร์บอน ผลการศึกษาพบว่าการเติบโตทางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้โกงกางใบใหญ่อายุ 10 ปี สูงที่สุด (7.54 เซนติเมตร) รองลงมา อายุ 9 ปี (6.13 เซนติเมตร) อายุ 8 ปี (5.59 เซนติเมตร) และอายุ 7 ปี (4.88 เซนติเมตร) ตามลำดับ สำหรับการเติบโตทางความสูงพบว่าไม้โกงกางใบใหญ่ อายุ 10 ปี มีการเติบโตดีที่สุด (10.93 เมตร) รองลงมา อายุ 9 ปี (7.44 เมตร) อายุ 8 ปี (6.34 เมตร) และอายุ 7 ปี (6.31 เมตร) ตามลำดับ การเติบโตทางมวลชีวภาพพบว่ามวลชีวภาพรวมของไม้โกงกางใบใหญ่ อายุ 10 ปี มีค่าสูงสุด (41.60 ตันต่อไร่) รองลงมา อายุ 9 ปี (23.01 ตันต่อไร่) อายุ 8 ปี (15.21 ตันต่อไร่) และอายุ 7 ปี (12.82 ตันต่อไร่) ตามลำดับ ส่วนผลผลิตซากพืชปรากฏว่าไม้โกงกางใบใหญ่อายุ 10 ปี มีค่าสูงสุด (2.22 ตันต่อไร่) รองลงมาอายุ 9 ปี (1.77 ตันต่อไร่) อายุ 7 ปี (1.43 ตันต่อไร่) และอายุ 8 ปี (1.17 ตันต่อไร่) ตามลำดับ ปริมาณธาตุอาหารที่ได้จากผลผลิตซากพืชทุกชั้นอายุพบว่า แคลเซียมมีปริมาณสูงสุด รองลงมาเป็นโพแทสเซียม แมกนีเซียม ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ตามลำดับ และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนของไม้โกงกางใบใหญ่อายุ 10 ปี มีค่าสูงสุด (18.99 ตันต่อไร่) รองลงมา อายุ 9 ปี (10.61 ตันต่อไร่) อายุ 8 ปี (7.09 ตันต่อไร่) และอายุ 7 ปี (5.80 ตันต่อไร่) ตามลำดับ

Article Info
วารสารการจัดการป่าไม้, Volume 6, Issue 1, Jul 09 - Dec 09, Page 35 - 55 |  PDF |  Page 

Img

Researcher

นาย วิสัย คงแก้ว

ที่ทำงาน:สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน (ศูนย์บริหารงานวิจัยเเละสนับสนุนวิชาการ) คณะประมง

สาขาที่สนใจ:ประมง

Resume

Img

Researcher

ดร. เจษฎา วงค์พรหม

ที่ทำงาน:ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์

สาขาที่สนใจ:ระบบวนวัฒน์ การฟื้นฟูป่า

Resume

Img

Researcher

ดร. สคาร ทีจันทึก, ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ที่ทำงาน:ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์

สาขาที่สนใจ:วนวัฒนวิทยา, ปฐพีวิทยาป่าไม้, นิเวศวิทยาป่าไม้ประยุกต์, การฟื้นฟูระบบนิเวศน์

Resume

Img

Researcher

นาย เดชา ดวงนามล

ที่ทำงาน:สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน (ศูนย์บริหารงานวิจัยเเละสนับสนุนวิชาการ) คณะประมง

สาขาที่สนใจ:นิเวศวิทยาป่าชายเลนและการจัดการ, การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ชายฝั่ง, ความหลากหลายทางชีวภาพ

Resume